เนื่องจากความสำเร็จของการลงทุนใน dw เป็นเรื่องที่ตั้งอยู่บนฐานของการวิเคราะห์ความเป็นไปได้จากข้อมูล ดังนั้นสิ่งสำคัญที่นักลงทุนทุกคนควรจะใส่ใจคือการศึกษารายละเอียดที่ปรากฏอยู่ในตารางราคา dw ให้ดีเพื่อเพิ่มโอกาสและลดความเสี่ยงให้กับตัวเอง ในเมื่อการทำความเข้าใจตาราง dw เป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อการลงทุนเช่นนี้ ดังนั้นเราจึงได้ตัดสินใจจัดทำบทความว่าด้วยวิธีดูตารางราคา dwขึ้นมา ว่าแต่ละขั้นตอนและรายละเอียดทั้งหมดของการอ่านตารางดังกล่าวจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว รีบตามไปดูข้อมูลเพิ่มเติมกันด้านล่างนี้ได้เลย
ตารางรางราคา dw คืออะไร?
ก่อนที่จะเริ่มเข้าเนื้อหาว่าด้วยวิธีดูตารางราคา dw เราอยากจะขอพูดถึงความหมายของตารางดังกล่าวกันก่อนสักนิด ปกติแล้ว DW หรือตราสารอนุพันธ์นั้นเป็นการลงทุนประเภทหนึ่งที่ราคาหุ้นจะปรับตัวตามหุ้นอ้างอิงหรือที่ใครหลายคนอาจจะรู้จักกันในชื่อของหุ้นแม่ โดยเราสามารถดูรายละเอียดว่าหุ้นที่อ้างอิงกับ dw ที่เรามีอยู่นั้นส่งผลให้ราคา dw ปรับตัวขึ้นหรือลงได้จากตารางราคา dw หรือตารางรับซื้อคืนนั่นเอง
วิธีดูตารางราคา dw
ศึกษาวิธีการอ่านชื่อ dw ให้ดี
ปกติแล้วชื่อของ dw มักจะประกอบไปด้วยตัวอักษรและตัวเลขทั้งหมด 13 หลัก ซึ่งส่วนใหญ่สามตัวแรกมักจะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษที่บ่งบอกว่า dw ของเรานั้นอ้างอิงกับหุ้นแม่ตัวไหน ส่วนในลำดับถัดไปจะเป็นตัวเลขที่บ่งบอกว่า dw ของเรานั้นเป็น dw ตัวไหน เช่น DW13 หรือ DW50 ในขณะที่ตัวต่อมาจะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ C หรือ P โดย C จะทำหน้าที่บ่งบอกว่า dw ตัวนั้นเป็น Call dw หรือ dw ที่ราคาจะปรับตัวขึ้นเมื่อหุ้นแม่ดีดตัว ในขณะที่ P จะมีความหมายว่า dw ตัวนี้เป็น Put dw หรือ dw ที่ราคาจะปรับตัวสูงขึ้นเมื่อหุ้นแม่ปรับตัวลง
เข้าไปดูตารางหุ้น
หลังจากที่เข้าใจแล้วว่า dw ของเรานั้นเป็น dw ที่อ้างอิงกับหุ้นแม่ตัวไหน, เป็น dw ที่ลงท้ายด้วยรหัสอะไร และเป็น Call dw หรือ Put dw ขั้นตอนต่อมาก็ถึงเวลาที่เราจะเข้าไปดูราคาในตลาดหุ้นกัน โดยในส่วนแรกให้เราลองเปิดราคาของหุ้นแม่ (Bid) ที่ dw ของเราอ้างอิงก่อนเพื่อดูว่าราคาดังกล่าวนั้น อยู่ในอัตราเท่าไหร่ หลังจากนั้นก็ให้กลับไปดูว่าราคาเสนอซื้อคืนของ dw ที่เรามีนั้นอยู่ในเรตไหน
เช็กตารางซื้อคืน
เมื่อเราได้ราคาของทั้งหุ้นแม่และราคาเสนอซื้อคืนของ dw ที่เรามีแล้ว สเต็ปต่อไปของวิธีดูตารางราคา dw คือการกลับเข้าไปเช็กในตารางเสนอซื้อคืน dw ที่ทางโบรกเกอร์จัดสรรมาให้ ซึ่งปกติแล้วในตารางดังกล่าวมักจะแสดงผลตารางรับซื้อคืนล่วงหน้า 7 วัน เพื่อให้เราสามารถวางแผนการซื้อขาย dw ในอนาคตอันได้
และทั้งหมดก็คือรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีดูตารางราคา dw ที่เราหยิบมาฝากกันวันนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความของเราคงจะเป็นประโยชน์กับบรรดานักลงทุนมือใหม่ทุกคนไม่มากก็น้อยนะ