Miscellaneous

คำที่ไม่ “น่า” ผิด ก็ผิดกันได้ทุกทีสิน่า

พอดีวันนี้ ได้เข้าเยี่ยมเยือน BoringDays.net แล้วรู้สึกอะไรขึ้นมาได้

จริงๆ ผมรู้สึกแบบนี้มานานแล้ว เคยเขียนไปหลายที แต่ก็เหมือนแค่เสียงบ่น ไม่มีใครใส่ใจจะฟังเสียงบ่นเสียงเล็กๆ แบบนี้หรอกมั้ง ประเทศในวันนี้ ถึงต้องตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้

สถานการณ์ที่ “คนไทย” เองยังเขียนภาษาตัวเอง “ไม่ถูก” นี่แหละ!

ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันก็คือ ตามเว็บบอร์ดต่างๆ ตาม Social Bookmark ต่างๆ มักพบว่า มีคนไทยบางคนที่สะกดคำไทยผิดให้เห็นกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน พิมพ์ผิดพิมพ์ตกยังพออภัย (เพราะผมเองก็เป็นบ่อย ถ้าไม่ตรวจทานให้ดี ก็ต้องมีกันบ้างละ) แต่พิมพ์คำไทยแบบสะกดผิดๆ นี่สิ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งเลยถึง ความ “ไม่รู้” ในการสะกดคำไทยของคนไทย

วันนี้ ก็เลยมานั่งลิสต์คำดู เป็นบทความที่แตกต่อจากบล็อกข้างบนนั่นเอง ขอขอบคุณที่เขียนบทความนั้นขึ้น เป็นแรงบันดาลใจให้ผมเขียนวันนี้ครับ

  • “น่า” กับ “หน้า” ความหมายต่างกันมาก แต่ก็มักใช้สลับกันอยู่เสมอๆ
    • น่ารัก น่าสนใจ น่าจะดี …
    • หน้าฝน หน้าร้อน หน้าอก …
  • “อนุญาต” คือคำที่ถูก แต่ที่เห็น คือ “อนุญาติ” ซึ่งผิด แต่ไม่เคยจำกัน
  • “สาเหตุ” กับ “สังเกต” ไม่เหมือนกันนะครับ อ่านแล้วจำไว้ใช้
  • “ลายเซ็น” กับ “เปอร์เซ็นต์”
    คนมักเขียน “ลายเซ็นต์” “เซ็นต์ชื่อ” กันเป็นประจำ เห็นแล้วปวดกบาล
  • “โอกาส” และ “อากาศ” คือคำที่ถูก
    ถ้าเอา ส กับ ศ สลับที่กัน รับรองว่าผิดแน่นอน
  • ผมอยู่ในวงการเว็บเพลงประมาณหนึ่ง ก็เลยได้พบเจอคำบางคำที่ใช้ในเพลง แต่เวลามันมาอยู่ในเว็บบอร์ด มันกลับถูกสะกดอย่างผิด “ซะงั้น” อย่างเช่น
    • “พรหมลิขิต” กลับถูกสะกดว่า “พรมลิขิต”
    • “เท่” มักถูกสะกดว่า “เท่ห์” งานนี้ อุเทน พรหมมินทร์ รับบาปไปนะครับ
  • อีกคำที่ผมเห็นแล้วไม่เข้าใจอย่างมาก คุณเขียนภาษาอังกฤษกันได้ถูกต้องทุกคนแน่ๆ แต่พอเขียนทับศัพท์ ไหงสะกดผิดไปได้ละ Website -> “เว็บไซต์” แต่ที่เห็นคือ “เวปไซด์” เวรกรรม!
  • เคยอ่านข่าวในเว็บๆ หนึ่ง พูดถึงฟอนต์ที่ใช้บนปกวีซีดีคาราโอเกะ แต่กลับสะกดว่า “ฟร้อนท์” เสียอย่างนั้น เหนื่อยใจจริงๆ

รวบรวมกันมาพอเป็นตัวอย่าง ที่เปิดให้ทุกคนลองพิจารณาตัวเองดู ว่ามีคำไหนไหมที่ตัวเองมักเขียนผิดอยู่บ่อยๆ นอกเหนือจากคำข้างบนแล้ว ใครอยากรู้ว่า มีคำไหนอีกที่มีโอกาสสะกดผิด ก็ลองคลิกไปอ่านได้ใน Wiki แล้วกันนะครับ โดยเฉพาะ “สื่อ” ทั้งหลาย พึงสังวรไว้ด้วยว่า คุณต้องสะกดให้ถูกเสมอ

โดนใจจริงๆ กับที่บางคนมองว่า “เอาแค่ให้สื่อสารได้ก็พอ” เพราะมันคือความ “มักง่ายไว้ก่อน พ่อสอนไว้” จริงๆ นั่นแหละ ทุกวันนี้ คนไทยเป็นแบบนี้ แล้วอาจจะเรียกได้ว่าเป็นกันทั้งประเทศ วันนี้ เราจึงเห็นคนไทยเขียนผิดกันจนเป็น “ปกติวิสัย” ไงละครับ

————————————

ย้ำกันอีกทีว่า เราไม่ได้พูดว่า การพิมพ์ผิดพิมพ์ตกที่เกิดจากพิมพ์เร็วแล้วไม่ได้ตรวจทานนะครับ การพิมพ์ตกแบบนั้น ถือว่า ไม่ได้ตั้งใจ แต่รู้ว่า “จริงๆ มันเขียนอย่างไร”

ซึ่งต่างกันกับพวก “ไม่รู้จริงๆ ว่ามันเขียนอย่างไร” นั่นเอง

PatSonic

บล็อกเกอร์ผู้ชอบดูหนังหลากแนว ฟังเพลงหลายสไตล์ มีเวลาว่างก็จะออกไปท่องเที่ยว บางเวลาก็หยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน หยิบซีรีส์ขึ้นมาดู แล้วก็จะหยิบมาเขียนให้ทุกคนได้อ่านกัน

11 คอมเมนต์

  1. – พรมลิขิต นี่ เค้าอาจจะรู้ แต่เอาสะดวกก็ได้
    – สนับสนุนมาก เรื่องใช้ภาษาไทยให้ถูก

    แต่ถ้าเป็นไดส่วนตัว อ่านเฉพาะกลุ่ม เค้าอาจจะว่าเราไปยุ่งอะไรด้วย ก็ได้แต่คิดในใจว่า เดี๋ยวมันจะติดนะ

    แต่ไนซ์เวลาแชทในเอ็มก็วิบัติเหมือนกัน (มีใครเวลาแชทแล้วพิมพ์ถูกเป๊ะเหมือนเขียนบทความมั่งมั้ยคะ อยากรู้)
    เพราะเป็นคนขี้เกียจพิมพ์มาก แบบพิมพ์ช้าไม่ทันใจ ไม่ทันความคิดที่อยากสื่อ ที่สำคัญมากคือ ขี้เกียจกด shift :P จะพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเพื่อนบางคนก็ไม่ค่อยเข้าใจ
    อย่าง จิง รุ เปน นี่ใช้ประจำ
    แต่ไม่พิมพ์ว่า ทัมมัย ให้มันเหนื่อยกว่า ทำไม แน่นอน เหนื่อยทั้งคนอ่านคนพิมพ์

    ว่าแล้วก็หยิบ อ่านอย่างไร เขียนอย่างไร มาดูเล่น
    20 บาทเอง ถูกกว่าการ์ตูนอีก

  2. อันนั้น เรียก “ตั้งใจพิมพ์” ครับ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คงรู้กันอยู่แล้ว ว่าจริงๆ มันเขียนยังไง เวลาคุยเอ็ม ผมก็มีเขียนแบบนั้นบ้างเหมือนกัน (แต่คงน้อยกว่าคนอื่นเขาอะ)จริงๆ ไม่ควรใช้จนเยอะเกินไป มันจะติดอย่างว่านั่นแหละ

    ในเว็บบอร์ด ในเว็บต่างๆ ยิ่งไม่ควรใหญ่เลย คนทำเว็บยิ่งต้องระวังให้หนัก เพราะตัวเองก็เป็นสื่ออยู่แม้ว่าจะไม่อยากจะตั้งตนก็ตาม

    สิ่งหนึ่งที่ผมไม่ได้ระบุไปก็คือ ถ้าคุณรู้ว่ายังไงมันถูกซะอย่าง มันไม่เป็นปัญหากับคุณหรอก มันแค่เป็นปัญหาให้กับคนอื่นเท่านั้นแหละ

  3. แนะนำอันนี้ไว้ติดตัวเลยล่ะครับ สำหรับคนที่เขียนบล็อก เรียกตรวจสอบได้ทุกเมื่อ หากเกิดความไม่แน่ใจว่าสะกดอย่างไร

    พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
    http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp

  4. ในเอ็มผมก็พิมพ์เหมือนรายงานแหละ ยกเว้นกรณีที่อารมณ์ดีมากๆ ก็จะใช้ภาษาวิบัติบ้าง ไม่รู้เป็นอะไร

  5. พี่แพทเขียนเรื่องแบบนี้บ่อยๆ ดีเลยนะ

    เป็นการจรรโลงสังคมอย่างงดงาม

  6. พยายามจะเขียนภาษาไทยให้ถูกต้องมากที่สุด
    เพราะมีอาการโรคจิตประมาณหนึ่ง
    ถ้าเห็นเขาเขียนผิดแล้วอารมณ์จะจี๊ดขึ้นมา
    พาลอยากเลิกอ่านไปเลย

    อย่างไรก็ตามมาอ่านบล็อกนี้
    ก็ทำให้ฉุกคิดได้ว่า บางคำที่เราว่าเราเขียนถูก ก็อาจผิด???
    ยิ่งคำทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษนี่จะมีโอกาเขียนผิดได้
    เพราะว่าอาจไปติดตามาจากที่อื่นแล้วเลยเขียนตาม
    ก็ทำให้คิดได้ว่า ถ้าคนเขียนกันเยอะ ก็ไม่ได้หมายความว่าคำนั้นเขียนถูก

    สำหรับตัวเองจะไม่ชอบเวลาเห็นคนเขียนคำว่า “จริง” เป็น “จิง” ทุกที
    ไม่ใช่แค่บนหน้าเว็บ แต่ถ้าเห็นในกระทู้ หรือใน chat msn ก็ไม่ชอบ
    แต่จะทำอะไรได้ล่ะ เขาก็คงถือว่าเป็นเรื่องของเขาที่จะเขียนแบบนี้

    อุอุ

  7. ผมเคยไปอยู่ที่ที่หนึ่ง บนดอยแม่สลอง จ.เชียงราย
    ที่นั่นเด็กเขียนภาษาไทยไม่ถูก …เนื่องมาจากเค้าพูดไม่ชัด เช่น ถ้าเค้าเขียนว่า “อาจาง” (อาจารย์) แสดงว่าเค้าพูดคำว่า อาจารย์ ไม่ชัด เป็น “อาจาง” ไป

    * ถ้าเป็นเช่นนี้ คงให้อภัยได้น๊ะ
    แต่ถ้าเป็นคนไทย 100% เขียนไทยผิดๆ ถูกๆ ก็แย่แน่ๆ …


  8. ..
    .

    อีกคำ ที่มักจะพูดออกเสียง และ พิมพ์ผิด ซ้ำสลับกันไปมาตลอด

    คือคำว่า “ค่ะ” กับ “คะ”

    ๑. “ค่ะ” ให้ออกเสียงต่ำ

    ๒. “คะ” ให้ออกเสียงสูง

  9. โอ เป็นเอนทรี่ที่ดีมาก
    เรียกสะกดคำผิดนี่เจอบ่อยมาก เห็นทีไรก็หงุดหงิด
    เรื่องการผันวรรณยุกต์ กับคำเป็นคำตาย ที่ปวรเขียนก็สำคัญเหมือนกัน

  10. โอ เป็นเอนทรี่ที่ดีมาก
    เรียกสะกดคำผิดนี่เจอบ่อยมาก เห็นทีไรก็หงุดหงิด
    เรื่องการผันวรรณยุกต์ กับคำเป็นคำตาย ที่ปวรเขียนก็สำคัญเหมือนกัน

Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save