จิปาถะ

รู้ชัด MRI และเอกซ์เรย์ เหมือนหรือต่าง และการเตรียมตัวตรวจ MRI

สำหรับผู้ที่อยู่ในอาการเจ็บป่วย หรือมีคนใกล้ชิดที่กำลังเผชิญกับความผิดปกติของร่างกายจากการเกิดโรคหรืออุบัติเหตุต่าง ๆ อาจจะเคยได้ยินชื่อเครื่อง MRI กันมาบ้าง แต่สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคย อาจสงสัยว่าเครื่อง MRI นี้เหมือนหรือต่างกับเครื่องฉายเอกซเรย์หรือไม่ วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกัน และจะมาอธิบายว่าเครื่อง MRI คืออะไร และมีขั้นตอนการเตรียมตัวตรวจ MRI อย่างไร เพื่อให้รู้สึกมั่นใจในการตรวจวินิจฉัยโรคมากยิ่งขึ้น

MRI และเอกซ์เรย์ เหมือนหรือต่าง
MRI และเอกซ์เรย์ เหมือนหรือต่าง

เครื่องเอกซเรย์, เครื่อง MRI เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

เครื่องเอกซเรย์

เครื่องเอกซเรย์ มีหลักการคล้ายคลึงกับแสงอาทิตย์ส่องวัตถุจนทำให้เกิดเงาบนพื้น เพียงแต่เครื่องเอกซเรย์ใช้รังสีเอกซ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Radiation) ที่มีคุณสมบัติทะลุทะลวงผ่านร่างกายมนุษย์ โดยเนื้อเยื่ออวัยวะภายในต่างๆ และกระดูกจะดูดซับปริมาณรังสีที่แตกต่างกันตามความหนาแน่นของสสาร ธาตุเบาจะยอมให้รังสีผ่านไปได้มาก ส่วนธาตุหนักจะดูดซับรังสีไว้ ดังนั้น ภาพเอกซเรย์จึงมีเฉดสีขาวและดำแตกต่างกันนั่นเอง อย่างไรก็ตาม รังสีเอกซ์สามารถเป็นสารก่อมะเร็งได้ ดังนั้น จึงจำกัดการฉายเครื่องเอกซเรย์เท่าที่จำเป็นเท่านั้น 

เครื่อง MRI

เครื่อง MRI (Magnetic Resonance Imaging) เป็นเครื่องมือที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นความถี่วิทยุเข้าไปในร่างกาย เพื่อรับคลื่นที่สะท้อนกลับมาประมวลผล แปลงค่าให้กลายเป็นภาพอวัยวะส่วนต่าง ๆ บนหน้าจออย่างชัดเจนและตรงจุด มักใช้เครื่อง MRI ตรวจความผิดปกติของร่างกายแบบเฉพาะจุดซึ่งสามารถทำได้ทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นตรวจเนื้อเยื่ออ่อน หัวใจ หลอดเลือดและสมอง เส้นเลือด เส้นประสาทในร่างกาย กระดูกสันหลัง ระบบกล้ามเนื้อ และข้อ ตลอดจนเนื้องอกส่วนต่าง ๆ การทำ MRI เป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่มีการใช้รังสีในการตรวจแม้แต่น้อย และให้ความแม่นยำสูง ไม่ทำให้เจ็บปวดขณะตรวจ และแทบจะไม่มีผลข้างเคียง

ขั้นตอนการเตรียมตัวตรวจด้วยเครื่อง MRI 

สำหรับผู้ที่ต้องเข้ารับบริการตรวจวินิจฉัยด้วย MRI มีข้อห้ามคือ ต้องไม่เป็นผู้ที่ใส่เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทำจากโลหะเช่น เครื่องช่วยกระตุ้นหัวใจ ประสาทหูเทียม Metallic Clip รวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ เช่น Cochlear Implant ส่วนขั้นตอนการเตรียมตัวตรวจด้วยเครื่อง MRI ดังนี้

  • ก่อนการเตรียมตัวตรวจ MRI แพทย์อาจกำหนดให้ผู้ป่วยงดน้ำและอาหารโดยขึ้นอยู่กับส่วนที่จะตรวจ หากมีเครื่องประดับหรือโลหะต่าง ๆ ต้องถอดออกทั้งหมดก่อนตรวจ
  • ระหว่างการตรวจ MRI ผู้ป่วยจะต้องนอนราบลงบนเตียง ติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณภาพบริเวณที่จะตรวจ ใส่โฟมอุดหูป้องกันเสียงดังจากคลื่นความถี่วิทยุ และจะเลื่อนเข้าไปในเครื่อง MRI ซึ่งมีลักษณะคล้ายอุโมงค์ขนาดใหญ่ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมงในกรณีที่ตรวจบริเวณที่ซับซ้อนมาก
  • หลังตรวจ MRI ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ตามปกติทันที และจะรู้ผลภายใน 1-2 สัปดาห์

เหล่านี้คือข้อมูลความแตกต่างระหว่างการตรวจ MRI และวิธีการอื่น ๆ ตลอดจนขั้นตอนการเตรียมตัวตรวจ MRI โดยสังเขป ที่สำคัญคือผู้ที่ต้องการใช้บริการตรวจ MRI ควรเลือกสถานพยาบาลที่มีเครื่องตรวจ MRI ที่ได้มาตรฐาน ให้บริการด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการวินิจฉัยที่ แม่นยำและถูกต้องที่สุด

Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

Adblock Detected

เนื่องจากบล็อกนี้อยู่ได้ด้วยความเอื้อเฟื้อผู้เยี่ยมชม รบกวนไม่ใช้ Ad Blocker เพื่อการเยี่ยมชมที่สมูธครับ