ภาพยนตร์

คุยกับ โซชิ มัทสึโมโตะ ผู้กำกับและเขียนบท หนังฮิตขวัญใจผู้ชม It’s a Summer Film!  (เกือบจะไม่ได้) ฉายแล้วหน้าร้อนนี้!

ก่อนจะได้ดูหนัง มาคุยกับ โซชิ มัทสึโมโตะ ผู้กำกับและเขียนบทกันก่อน

หลายคนน่าจะเคยได้ยินข่าวคราวกันมาบ้างแล้ว หลังเคยเข้าฉายในเทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่น 2565 ได้รับกระแสตอบรับและพูดถึงในด้านบวกเกี่ยวกับหนังญี่ปุ่นเรื่องใหม่ ‘It’s a Summer Film!’ หรือชื่อไทย ‘(เกือบจะไม่ได้) ฉายแล้วหน้าร้อนนี้!’ ล่าสุด ทาง มงคลภาพยนตร์ เตรียมนำหนังเรื่องนี้กลับเข้ามาฉายอีกครั้งในโรงภาพยนตร์ ในวันที่ 17 มีนาคม 2565 นี้

แต่ก่อนที่จะได้ดูหนังเรื่องนี้ เรามีบทสัมภาษณ์ของ Soshi Masumoto/โซชิ มัทสึโมโตะ ผู้กำกับและเขียนบท หนังฮิตขวัญใจผู้ชมเรื่องนี้มาฝากกัน

โซชิ มัทสึโมโตะ ผู้กำกับและเขียนบทหนัง '(เกือบจะไม่ได้) ฉายแล้วหน้าร้อนนี้!'
โซชิ มัทสึโมโตะ ผู้กำกับและเขียนบทหนัง ‘(เกือบจะไม่ได้) ฉายแล้วหน้าร้อนนี้!’

บทความนี้มีอะไรบ้าง? ซ่อน

Q: แรงบันดาลใจที่ทำให้คุณตัดสินใจสร้างหนังเรื่องนี้

ผมได้พูดคุยกับคุณ นาโอยูกิ มิอุระนักเขียนบทละคร ที่มีโอกาสร่วมงานกันหลายต่อหลายครั้งว่า อยากทำหนังยาวบ้างเนอะ จนราวๆฤดูใบไม้ผลิปี 2018 เราก็เริ่มจัดการประชุมเพื่อวางแผนสร้างหนังยาวขึ้น ส่วนใหญ่พวกผมก็พากันไปซาวน่าแล้วพูดคุยกันเรื่องผลงานที่ได้ชมได้อ่านในช่วงที่ผ่านมาแล้วค่อยคุยกันเรื่องแผนและบทกันแบบคร่าวๆ จนวันหนึ่งหลังจากที่พวกเราเข้าซาวน่าเสร็จแล้วนั่งคุยกันที่โรงอาหารจนถึงเช้า วันนั้นเราคุยกันจนจากโครงเรื่องที่ไม่มีอะไรจนกลายเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาทั้งบทหลักและคาแรคเตอร์ของตัวละคร คืนนั้นต่างคนต่างไอเดียพุ่งกระฉูด ผมยังจำความตื่นเต้นในตอนนั้นได้เลย มันเจ๋งแน่ๆ ถ้าทำตามนี้ได้  ที่ผ่านมาไม่เคยมีเหตุการณ์แบบนี้มาก่อนเลยครับในชีวิต (จากนั้น เพื่อนของพวกเราอย่างคุณ โคเฮ อิไนสุมิ บรรณาธิการหนังสือการ์ตูน และ คุณมิยาโมโตะ โอคุยามะ แห่ง LOLO Productiondก็เข้ามาร่วมด้วย) ในระหว่างการประชุมวางแผน ผมคิดว่า บทนำเรื่องนี้ต้องเป็นคุณมาริกะอิโตะ เท่านั้น วันถัดมาจึงใช้เส้นสายคนรู้จักติดต่อผู้จัดการของคุณ มาริกะ อิโตะ แล้วให้เธอพิจารณาบทจนสุดท้ายภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ออกมาจนได้ครับ

ทีมงานนักแสดงหนัง '(เกือบจะไม่ได้) ฉายแล้วหน้าร้อนนี้!'
ทีมงานนักแสดงหนัง ‘(เกือบจะไม่ได้) ฉายแล้วหน้าร้อนนี้!’

Q: เหตุผลที่เลือกคุณอิโตะ และคุณ คาเนโกะมารับบทนำ

ตัวละครหลักอย่างฮาดาชิ คือเด็กม.ปลายที่มีแพชชั่นอย่างแรงกล้าในการสร้างผลงาน คนที่น่าจะต่อสู้ด้วยดาบได้ พอคิดอย่างนั้นแล้วชื่อของคุณมาริกะ อิโตะ  ลอยขึ้นมาทันทีเลยครับ คุณอิโตะเองก็เป็นศิลปินที่สร้างสรรค์งานศิลปะอยู่แล้ว อีกทั้งภาพที่เธอแสดงและเต้นไปด้วยใน ‘Hajimarika’ เป็นภาพจำที่ติดหัวอยู่ ถ้าเทียบกับบทฮาดาชิแล้วเราค่อนข้างใช้เวลาในการคิดภาพลักษณ์ที่อยากให้เป็นของบท รินทาโระ นานอยู่เหมือนกัน จนได้เจอกับคุ ไดจิ คาเนโกะ ด้วยท่าทางการยืนที่สง่าผ่าเผย อีกทั้งแววตาของเขาทำให้ผมมั่นใจว่า ‘นี่แหละรินทาโระ!’ (ในหนังฮาดาชิก็พูดแบบเดียวกัน ความรู้สึกของผมไม่ต่างจากเธอในหนังเลย) ทั้งบทชายหนุ่มผอมสูงจากเรื่อง ‘Fujoshi, Ukkari Gei Ni Tsugeru’ ที่เขาเคยเล่นทำให้ภาพลักษณ์ของรินทาโระ เด่นชัดขึ้นมา ทั้งคาแรคเตอร์ของเจ้าตัวที่มีสีหน้าดูเหมือนจะเป็นคนไม่ค่อยพูด แต่พอเจอตัวแล้วกลับเป็นมิตร (แถมยังไฟแรง) ก็ดูเหมาะกับ รินทาโระดีครับ

Q: ได้ไอเดียภาพยนตร์เรื่องนี้มาจากไหน?

ก่อนอื่นเลย ผมเริ่มคิดโครงเรื่องด้วยคอนเซ็ปที่ว่า อยากทำหนังฤดูใบไม้ผลิที่ไม่เน้นความโรแมนติก → อยากพูดถึงเหล่าวัยรุ่นที่ตั้งใจสร้างอะไรบางอย่าง → อยากให้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างหนังดราม่าประวัติศาสตร์โดยโอตาคุละครประวัติศาสตร์ ให้ตัวเอกของเรื่องเป็นคนชอบสวนกระแส มีความชื่นชอบในนักแสดงละครประวัติศาสตร์สมัยก่อน → มีคนจากอนาคตที่เป็นแฟนคลับของตัวเอกย้อนเวลามาร่วมสร้างภาพยนตร์ด้วยกัน

ผมรู้สึกว่าการที่ลูกศรโยงระหว่างอดีต ปัจจุบันและอนาคตล้อกันไปล้อกันมาแบบนี้มันน่าสนุกดี  รู้สึกว่ามันน่าสนใจที่ปลายมันบรรจับกันตอนท้ายเรื่องแล้วมุ่งไปสู่อนาคตเหมือนกัน ผมเชื่อว่าการก้าวจากอดีตสู่อนาคตสามารถทำได้และมันทับซ้อนกับการสร้างภาพยนตร์ด้วย

Marika Ito นักแสดงนำจากหนัง '(เกือบจะไม่ได้) ฉายแล้วหน้าร้อนนี้!'
Marika Ito นักแสดงนำจากหนัง ‘(เกือบจะไม่ได้) ฉายแล้วหน้าร้อนนี้!’

Q: มีผลงานใดบ้างที่ใช้อ้างอิงในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยได้ไหม

พวกจังหวะการดำเนินเรื่องของ ‘Water Boys’ ผลงานชิ้นเอกของสโมสรภาพยนตร์ระดับไฮสคูลมีประโยชน์มากตอนคิดพล็อตเรื่องครับ อย่างภาพยนตร์เรื่อง ‘Linda Linda Linda’ ก็ถือเป็นภาพยนตร์โปรดของผม ในหนังมี “ฉากตามหานักร้องนำของวงในสวน” ผมเลยหยิบล้อเป็นฉาก “ตามหานักแสดงนำ” ในเรื่อง ผมย้อนกลับไปดูภาพยนตร์เรื่อง ‘The Girl Who Leapt Through Time’ อยู่หลายครั้ง อย่างภาพยนตร์เรื่อง ‘Location’ ที่กำกับโดย อซุมะ โมริซากิ ที่ขอบเขตของนิยายมันคลุมเครือในตอนท้ายก็มีประโยชน์เช่นกัน  ฉากไคลแม็กซ์ในโรงยิมของภาพยนตร์อเมริกาชื่อดังเรื่อง ‘Rushmore’ ก็ด้วย อีกทั้งผมยังได้แรงบันดาลใจจากเนื้อเพลง Oldies ของแร็ปเปอร์ชาวญี่ปุ่นชื่อ PUNPEE ด้วยครับ

Q: ที่ผ่านมาคุณเคยมีส่วนร่วมในในการสร้างโฆษณาและมิวสิควิดีโอมาบ้างแล้ว ได้นำประสบการณ์เหล่านั้นมาใช้ในการสร้างภาพยนตร์ไหม นอกจากนี้ ช่วยเล่าถึงความแตกต่างด้วย

ผมรู้สึกว่าประสบการณ์ที่สั่งสมมาจากการสร้างโฆษณาและมิวสิกวิดีโอถูกใช้ในฉาก ภาพสเกตช์ที่ไม่มีบทสนทนา นี่เป็นครั้งแรกที่ผมถ่ายทำหนึ่งตัวละครนานขนาดนี้ ดังนั้นประสบการณ์ในการทำความรู้จักกับตัวละครในขณะถ่ายทำจึงเป็นอะไรที่แปลกใหม่มาก

Marika Ito นักแสดงนำจากหนัง '(เกือบจะไม่ได้) ฉายแล้วหน้าร้อนนี้!'
Marika Ito นักแสดงนำจากหนัง ‘(เกือบจะไม่ได้) ฉายแล้วหน้าร้อนนี้!’

Q: อะไรที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ที่พิถีพิถันเป็นพิเศษ

ผมคิดว่าภาพยนตร์เรื่องนี้คือการปูเรื่องขึ้นเพื่อฉากสุดท้าย ดังนั้นผมจึงคิดเสมอว่าจะเดินเรื่องไปฉากสุดท้ายอย่างไรโดยไม่ให้มันจาง ผมอยากพาคนดูไปจนถึงฉากสุดท้าย พอกันกับความกระตือรือร้นของฮาดาชิที่ลากเพื่อนๆและคนรอบตัวมาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ ความกระตือรือร้นของฮาดาชิไม่มีทางโกหกความรู้สึกชอบที่เธอมีให้แก่ละครประวัติศาสตร์และความอยากสร้างภาพยนตร์ของเธอ ผมจึงมีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้กับคุณ อิโตะ ก่อนการถ่ายทำหลายครั้ง

Q: ความรู้สึกหลังผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้เสร็จสิ้น

จนกว่าหนังจะเสร็จ มีปัญหาอยู่มากมายครับ  (มีการพักการถ่ายทำไปเพราะ COVID-19) ผมไม่อยากจะเชื่อเลยว่าไฟที่แรงกล้าจากการพูดคุยกันคืนนั้นจะถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ขึ้นจอใหญ่ ขอบคุณทุกคนที่ให้โอกาสผู้กำกับมือใหม่คนนี้ด้วยครับ

Q: ‘It’s a Summer Film’ ได้แฝงความรู้สึกอะไรไว้ในชื่อภาพยนตร์รึเปล่า

‘It’s a Summer Film’ กับแนวคิดที่ว่า หนัง = ไทม์แมชชีน  เหมือนเราได้นั่งไทม์แมชชีนไปด้วย

ทีมงานนักแสดงหนัง '(เกือบจะไม่ได้) ฉายแล้วหน้าร้อนนี้!'
ทีมงานนักแสดงหนัง ‘(เกือบจะไม่ได้) ฉายแล้วหน้าร้อนนี้!’

Q: ในฐานะผู้กำกับของภาพยนตร์เรื่องนี้ อยากฝากอะไรถึงคนดูบ้าง

ผมยังนึกไม่ออกเหมือนกันว่าอยากจะฝากอะไรถึงคนดู ในภาพยนตร์เรื่องนี้แม้จะมีการทำภาพยนตร์เป็นแรงจูงใจอยู่ แต่สิ่งที่อยากจะสื่อไม่ใช่ “ความรักที่มีต่อภาพยนตร์” ครับ แต่เป็นความชื่นชอบ ความชื่นชอบในละครประวัติศาสตร์ของฮาดาชิ มันดึงดูดให้ได้พบกับรินทาโระ “ความรู้สึกชอบมันถูกส่งต่อให้ใครบางคน แล้วมันก็ยังทำให้ใครบางคนลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง” ผมเชื่อในพลังในการชื่นชอบอะไรสักอย่าง

Q: จากนี้อยากสร้างผลงานแบบไหน

อยากสร้างผลงานที่มีความ Pop และเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังงานครับ


อ่านบทสัมภาษณ์ Sôshi Masumoto ผู้กำกับและเขียนบทของหนังเรื่องนี้กันไปแล้ว ก็อย่าลืมไปดูหนังฮิตขวัญใจผู้ชมในโรงกันในวันที่ 17 มีนาคม 2565 นี้นะครับ

PatSonic

บล็อกเกอร์ผู้ชอบดูหนังหลากแนว ฟังเพลงหลายสไตล์ มีเวลาว่างก็จะออกไปท่องเที่ยว บางเวลาก็หยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน หยิบซีรีส์ขึ้นมาดู แล้วก็จะหยิบมาเขียนให้ทุกคนได้อ่านกัน
Back to top button

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save

Adblock Detected

เนื่องจากบล็อกนี้อยู่ได้ด้วยความเอื้อเฟื้อผู้เยี่ยมชม รบกวนไม่ใช้ Ad Blocker เพื่อการเยี่ยมชมที่สมูธครับ